รักษารากฟัน คืออะไร เจ็บไหม ไม่รีบรักษาฟันเป็นหนองจริงหรือเปล่า ?

รักษารากฟัน

รักษารากฟัน (Root Canal Treatment) เชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยได้ยินคำนี้มาบ้าง แต่คนสนใจที่จะรักษาจริง ๆ นั้นกลับน้อยมาก สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะหลายคนไม่รู้ว่าการละเลยปล่อยให้ฟันผุมากเกินไปอันตรายมากกว่าที่คิด หรือไม่รู้ว่าสาเหตุจริง ๆ ของอาการปวดฟันอันแสนทรมานนี้มาจากการที่รากฟันเกิดการอักเสบนั่นเอง สำหรับบางคนที่พอมีความรู้อยู่บ้างแล้ว แต่ดันปล่อยให้การอักเสบลุกลามจนแก้ปัญหาไม่ทันทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าเดิมไปอีก! วันนี้แอดมินจะมาอธิบายให้เพื่อน ๆ เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการรักษารากฟัน คืออะไร มีขั้นตอนการรักษายังไง ราคาสูงเพราะอะไร พร้อมไขข้อข้องใจสำหรับบางคนที่พอนึกถึงคำนี้แล้วเห็นภาพว่าการรักษาต้องน่ากลัวแน่นอน จะน่ากลัวแบบที่คิดไหม มาอ่านไปพร้อม ๆ กันเลยค่า

รากฟันอักเสบได้ยังไง ปล่อยไว้อันตรายจริงหรอ ?

รักษารากฟัน คืออะไร ไม่รีบรักษาฟันเป็นหนองจริงหรือเปล่า ?

รากฟัน (Root) ประกอบด้วย โพรงประสาทฟัน ที่อยู่ชั้นในสุดของฟันและเป็นศูนย์รวมของทั้งเส้นเลือดและเส้นประสาทฟัน ที่อยู่ใต้เหงือกนั่นเอง ซึ่งจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร และรอบรากฟันจะถูกหุ้มไว้ด้วยเหงือก

รากฟันอักเสบ (Root canal) วิธีสังเกตว่ารากฟันของเรามีอาการอักเสบหรือไม่ คือรู้สึกเจ็บเวลาเคี้ยวหรือกัดอาหาร และมีอาการเสียวฟันมากเกินไปเวลาดื่มเครื่องดื่มที่เย็นจัดหรือร้อนจัด รวมไปถึง หน้าบวม มีหนองบริเวณฟันหรือรากฟันที่ติดเชื้อไหลออกมา และมีตุ่มหนองขึ้นบนเหงือก ซึ่งสาเหตุที่ทำให้

รากฟันติดเชื้อมีดังนี้ค่า

รักษารากฟัน คืออะไร ไม่รีบรักษาฟันเป็นหนองจริงหรือเปล่า ?

1. ละเลยอาการปวดฟันจากฟันผุเป็นระยะเวลานานเกินไป จนผุไปถึงโพรงประสาทฟัน

2. เกิดจากคราบอาหารหรือเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ตามขอบเหงือกและซอกฟันจนหมักหมมในรากฟัน ทำให้เป็นโรคเหงือกอักเสบ

3. ฟันที่ได้รับการกระทบกระเทือนจนแตกหัก เช่น อุบัติเหตุ และการกัดเคี้ยวที่รุนแรง ทำให้เชื้อโรคเข้าแทรกซึมเข้าไปในโพรงประสาทฟัน

ถ้าหากไม่ทำการรักษายิ่งกว่าต้องทนกับอาการปวดฟันแบบไม่มีทางหายไปเองได้ รากฟันที่ติดเชื้ออาจจะลุกลามเข้าไปในเหงือก แก้ม และผิวหนัง จนทำให้ต้องสูญเสียฟันแท้ไปเลยค่ะ 

รักษารากฟัน คืออะไร ? รักษายังไงบ้าง ?

รักษารากฟัน (Root Canal Treatment) คือ การทำความสะอาดหรือกำจัดเส้นประสาท เนื้อเยื่อที่ติดเชื้อหรืออักเสบภายในโพรงประสาทฟันออกไป หลังจากทำความสะอาดเสร็จแล้วก็จะทำการรักษาด้วยการอุดปิดรากฟัน และครอบฟันเพื่อซ่อมแซมฟันให้กลับมาแข็งแรงใช้งานได้ตามเดิม ช่วยให้คุณไม่จำเป็นต้องถอนฟันออกไป ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถช่วยรักษาฟันไว้ได้นั่นเอง และยังป้องกันการติดเชื้อฟันเรื้อรัง และรากฟันเป็นหนองอีกด้วย

รักษารากฟัน

การรักษามีอยู่ 2 แบบด้วยกัน ซึ่งเราสามารถเลือกได้ค่า ว่าจะรักษาแบบไหน แต่บางครั้งก็ต้องดูอาการอักเสบของรากฟันเราด้วยนะคะ 

ขั้นตอนการรักษารากฟันแบบ (ไม่) ผ่าตัด

1. ขั้นตอนแรก คุณหมอจะเอกซเรย์ตรวจสภาพฟัน เพื่อจัดแผนการรักษาให้เรา 

2. ต่อไปคุณหมอจะให้ยาชาที่บริเวณเหงือกใกล้กับรากฟันที่อักเสบ ซึ่งอาจจะทำให้เจ็บหรือปวดฟันได้ หลังจากนั้นจะใช้แผ่นยางบาง ๆ กั้นแยกฟันที่อักเสบออกจากฟันซี่อื่น ป้องกันไม่ให้ฟันซี่ข้าง ๆ เลอะน้ำลายหรือกระทบกระเทือน

3. เมื่อเตรียมทุกอย่างเสร็จแล้ว คุณหมอจะทำการกรอฟันที่เสียหายหรือติดเชื้อให้มีพื้นที่ในการกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก

4. หลังจากกำจัดส่วนที่ติดเชื้อออกแล้ว ก็จะทำความสะอาดโดยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ และน้ำยาครอบฟัน ใส่ไปในคลองรากฟัน

5. หลังจากนั้น คุณหมอจะใช้วัสดุเฉพาะอุดปิดรากฟันเอาไว้ คือ วัสดุอุดฟันแกนกลาง (Gutta percha) และวัสดุปิดช่องว่างระหว่างแกนกลางกับผนังคลองรากฟัน (Sealer) เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าไปสะสมในระยะยาว ซี่งระยะเวลาในการรักษาแบบนี้อาจจะใช้เวลาประมาณ 45 – 90 นาที

6. ขั้นตอนสุดท้าย ถ้าหากทำการรักษาเสร็จเรียบร้อย คุณหมอจะให้ใส่ที่ครอบฟัน เพื่อป้องกันเชื้อโรค และให้ฟันเราสามารถใช้งานได้นาน

ขั้นตอนการรักษารากฟันแบบผ่าตัด

1. เริ่มด้วย คุณหมอวินิจฉัยอาการอักเสบของฟันจากภาพเอกซเรย์ จัดวางแผนการรักษา

2. ถัดไปคุณหมอจะฉีดยาชาบริเวณฟันที่มีปัญหาอยู่ ขั้นตอนนี้อาจจะมีความเจ็บเล็กน้อยนะคะ 

3. หลังจากนั้นใช้เครื่องมือที่แม่นยำอย่าง กล้องจุลศัลยกรรม (Microscope) ในการช่วยขยายคลองรากฟันที่มีขนาดเล็กให้มองเห็นชัดขึ้น แล้วตัดปลายรากฟันที่เกิดหนองหรือส่วนที่ติดเชื้อออก ซึ่งจะใช้เวลาในการผ่าตัด 45 – 90 นาที แต่ก็ขึ้นอยู่ตำแหน่งของฟันด้วยค่ะ 

4. สุดท้าย คุณหมอจะใช้วัสดุเข้าไปอุดในส่วนของปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้แล้ว และหลังผ่าตัดอาจจะมีอาการปวดฟันเล็กน้อย แต่จะหายดีขึ้นในไม่ช้า

การรักษารากฟัน เจ็บไหม ?

รักษารากฟัน คืออะไร ไม่รีบรักษาฟันเป็นหนองจริงหรือเปล่า ?

ถ้าถามว่า การรักษารากฟัน เจ็บไหม ? บอกตามตรงก็มีความรู้สึกเจ็บอยู่บ้างค่ะ แต่จะเป็นความเจ็บระหว่างทำการรักษา ตอนที่คุณหมอฉีดยาชาบริเวณเหงือก หลังจากยาชาออกฤทธิ์ก็ไม่เจ็บแล้วค่า และมีความเจ็บหลังจากทำการรักษา อาการที่จะเกิดขึ้น คือ มีความเจ็บและการบวมของเหงือกบริเวณฟันในช่วงแรก ๆ ซึ่งอาการจะค่อย ๆ ทุเลาลงเองตามลำดับ หากใครมีอาการปวดหรือเจ็บมากเกินไปก็สามารถกินยาบรรเทาอาการให้ลดลงได้

การดูแลตัวเองหลังการอุดปิดรากฟัน

1. ไม่ควรรับประทานอาหารหลังจากที่ได้รับการรักษาในทันที เนื่องจากยังคงมีอาการชาบริเวณที่ทำการรักษาอยู่ ควรรอให้อาการชาหายไปก่อน เพื่อป้องกันการกัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้มโดยไม่ตั้งใจ

2. งดการเคี้ยวอาหารด้วยซี่ฟันที่ทำการรักษามา เพราะอาจจะทำให้ฟันแตกได้

3. ควรแปรงฟันอย่างวันละ 2 ครั้งต่อวัน

4. ควรตรวจสุขภาพปากอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามการรักษาฟันของเรา

5. หลังการรักษา หากมีอาการปวดฟันหรือบวมนานกว่า 2 – 3 วันให้รีบแจ้งคุณหมอที่รักษาโดยทันที

การรักษารากฟัน ราคาเท่าไหร่ ? ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง ?

บางคนอาจจะพอทราบมาบ้างว่า ค่ารักษาค่อนข้างสูง เพราะเป็นการรักษาที่มีความยากและความซับซ้อนตามความรุนแรงของฟันที่ติดเชื้อ ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากบางกรณีที่ต้องใช้วัสดุในการเดือยฟัน การครอบฟัน และราคาก็ยังขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลและคลินิกทันตกรรมที่เลือกรับบริการด้วยค่ะ 

ดังนั้นจึงเกิดคำถามยอดฮิตที่ใคร ๆ ก็ถามถึงคือ ค่ารักษาสูงขนาดนี้จะรักษาที่ไหนดี ให้คุ้มค่ากับเงินที่เราได้เสียไป ที่  Teeth Talk Dental Clinic ในการรักษาจะเริ่มต้นที่ 2,000 – 11,000 บาท แต่ก็ขึ้นอยู่ตำแหน่งของซี่ฟันด้วย ว่าเป็นฟันหน้า ฟันกรามน้อย หรือ ฟันกรามใหญ่  เช่น การรักษาฟันกรามจะมีราคาสูงกว่าฟันหน้าหรือฟันกรามน้อย เพราะมีรากฟันเยอะกว่า 3 – 4 ราก 

การรักษารากฟัน ราคาเท่าไหร่ ที่  Teeth Talk Dental Clinic 

ตำแหน่งฟันราคา
รักษารากฟันหน้า /ซี่6,000 .-
รักษารากฟันกรามน้อย /ซี่8,000.-
รักษารากฟันกรามใหญ่ /ซี่11,000.-
รักษารากฟันซ้ำ /ซี่2,000.-

หมายเหตุ : ค่าบริการไม่รวมค่าอุดฟันถาวรหลังการรักษา (1000 บาท) /ซี่

สามารถดูราคาและรายละเอียดการรักษาฟันเพิ่มเติมได้ที่นี่

หลังจากที่เราทำการรักษาไปแล้วในครั้งแรก คุณหมอจะทำการครอบฟันให้ ซึ่งจำเป็นมากเพราะจะช่วยป้องกันน้ำลายที่อาจจะทำให้รากฟันมีการติดเชื้อซ้ำซ้อน และป้องกันไม่ให้ฟันแตกหัก เนื่องจากบางกรณีต้องมีการพบคุณหมอมากกว่า 1 ครั้ง ก็จะมีการอุดรากฟันชั่วคราวและใส่ที่ครอบฟันไว้เพื่อปกป้องฟันระหว่างรอการรักษาทำความสะอาดครั้งต่อไป โดยคนไข้สามารถเลือกประเภทที่ครอบฟันได้ตามความเหมาะสม

การรักษารากฟัน ดีกว่า การถอนฟันยังไง ?

รักษารากฟัน คืออะไร ไม่รีบรักษาฟันเป็นหนองจริงหรือเปล่า ?

วิธีรักษาแบบการถอนฟันก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่หลาย ๆ คนเลือก เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่า แต่หากเราต้องการเก็บฟันแท้ไว้ การรักษาไว้ย่อมดีกว่าอยู่แล้วค่ะ เพราะเราสามารถรักษาฟันจริงของเราให้ใช้งานได้เหมือนเดิม แบบไม่ต้องพึ่งฟันปลอม สะดวกในการใช้ชีวิตมากกว่า ถึงจะใช้เวลาในการรักษานานกว่าการถอนฟันก็ตาม ในการรักษาครั้งหนึ่ง สามารถอยู่ได้นานตลอดชีวิตเลยค่ะ แต่ถ้าหากฟันมีความเสียหายมากเกินไปการถอนฟันถึงจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่คุณหมอจะแนะนำ 

การอุดปิดรากฟัน ดีกว่า ฝังรากฟันเทียมยังไง ?

รักษารากฟัน คืออะไร ไม่รีบรักษาฟันเป็นหนองจริงหรือเปล่า ?

ขั้นตอนการฝังรากฟันเทียม จะฝังรากเทียมเข้าในเหงือกโดยต้องถอนฟันแท้ออกไปก่อน และใส่ฟันใหม่หรือฟันปลอมเข้าไปทดแทน 

ส่วนการรักษาดูแลรากฟันจะเป็นการรักษาฟันแท้ของเราให้กลับมาใช้งานได้แบบเดิม โดยไม่ต้องกลัวว่าฟันปลอมจะหลวมในอนาคต ซึ่งการรักษานี้ยังช่วยให้อาการปวดฟันจากฟันผุหายไปด้วย เพียงแต่ต้องหมั่นทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้กลับมาติดเชื้อซ้ำอีก

จัดฟันรอบสอง

แอดมินขอสรุปการ รักษารากฟัน คืออะไร ให้แบบนี้นะคะ คือ การเอารากฟันที่เกิดการติดเชื้อหรืออักเสบออกเพื่อรักษาฟันซี่นั้นไว้ ให้ใช้งานได้ต่อโดยไม่ต้องถอนฟันค่ะ สำหรับใครที่ยังกลัวอยู่ว่าการรักษาจะน่ากลัว ความจริงไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดนะคะ การปล่อยให้อาการปวดฟันจากรากฟันติดเชื้อจนเป็นหนองนั้นน่ากลัวกว่าเยอะเลย 

ดังนั้นทางเลือกนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาฟันเอาไว้ที่มีความเป็นไปได้สูงที่สุดค่ะ สุดท้ายสิ่งที่สำคัญอีกอย่างที่จะทำให้ผลลัพธ์ออกมาสำเร็จ คือ การเลือกคลินิก ถ้าหากเลือกคลินิกที่ไม่ได้รับมาตรฐานอาจจะทำให้การรักษาฟันไม่ได้ผล ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่ที่ Teeth Talk Dental Clinic มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย ปลอดภัย และมีคุณหมอที่มีความสามารถเฉพาะทาง สามารถไว้วางใจได้ ถ้าหากคุณมีปัญหาสุขภาพฟันที่กวนใจไม่ว่าจะปรึกษาเรื่องรักษารากฟัน หรือจัดฟัน สามารถทักแชทเข้ามาปรึกษากับทีมแอดมิน หรือเข้าไปคุยกับคุณหมอได้คลินิกสาขาใกล้บ้านคุณที่ด้านล่างนี้ได้เลยนะค้า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *